ผลิตและจำหน่าย เครื่องปั้นดินเผา ศิลาดล
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
Hand Crafted art Celadon and other
Stoneware of the Highest Quality
เปิดบริการทุกวัน : 8.30 น. - 16.30 น.
   
   
member
ยินดีต้อนรับ :  ผู้เยี่ยมชม
line ig facebook
สอบถามสินค้า : ว่าง


 
 
 
 
 
new products
suggest
clearance

หน้าแรก >เกี่ยวกับร้าน
ประวัติ โดยย่อ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเตาเม็งราย
   เมื่อปี พ.ศ. 2517 ที่ผ่านมา คุณอเล็กซ์ วอล็คเกอร์ (ชาวนิวซีแลนด์) นายแพทย์อาวุธ ศรีศุกรี และ คุณ โดนัลด์ กิปสัน(ชาวอังกฤษ) ได้ร่วมกันจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนฯ ขึ้นในจังหวัด เชียงใหม่ เพื่อประกอบการ ผลิต เครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า เซลาดอน (CELADON) เครื่องเคลือบชนิดนี้ประกอบด้วย ดิน โคลนจากท้องนาและขี้เถ้าไม้ เผาภายใต้ระบบสันดาปไม่สมบูรณ์ที่อุณหภูมิประมาณ 1260- 1300 องศาเซลเซียส เพื่อให้ได้สีแบบเดียวกับเครื่องสังคโลกโบราณ หากมีอ๊อกซิเจนใน เตาเผามากเกินไปสีเคลือบจะกลายเป็นสีเขียวอมเหลือง
   กรรมวิธีการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ชนิดนี้ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นมาในประเทศจีนและเป็นที่แพร่หลายเมื่อประมาณ 2000 ปี ล่วง มาแล้วจุดมุ่งหมายและแรงบันดาลใจในการผลิตเครื่องปั้นดินเผานี้ เพื่อรังสรรค์งานช่าง ฝีมือ โบราณให้กลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งหนึ่ง ตามแบบอย่างของเครื่องปั้นดินเผาโบราณใน ภูมิภาค ทางเหนือของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันคือ อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งเครื่องถ้วยโบราณจากประเทศจีน อุตสาหกรรมในครัวเรือนเล็ก ๆ แห่งนี้ มีชื่อว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเตา เม็ง ราย    เพื่อเป็นการรำลึกถึง พ่อขุนเม็งรายมหาราชผู้สร้าง เมืองเชียงใหม่ ร่วมกับพระสหาย 2 พระองค์คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เจ้า เมืองสุโขทัย และ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองพะเยา เมื่อ 700 กว่าปีที่ผ่านมา อนุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์นี้ประดิษฐาน ณ หน้าศาลา กลาง เดิมของเมืองเชียงใหม่ ใกล้กับกำแพงเมืองเก่าและวัดเจดีย์หลวงวรมหาวิหาร ซึ่งสร้างใน พุทธศตวรรษที่ 20    ตามที่กล่าวมานั้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าจุดกำเนิดของเตาเม็งรายมี รากฐานจากประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของแผ่นดินล้านนาไทย ชาวไทยภาคเหนือ มี ความเป็นสล่า(ช่าง)อยู่ในสายเลือด มีความสามารถในการผลิตงาน ศิลปหัตถกรรมจากวัสดุท้องถิ่นอย่างโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ก็ เป็นทักษะอย่างหนึ่งของสล่าชาวเหนือ ในระยะเริ่มแรกเตาเม็งรายดำเนินการมาด้วยความ ยาก ลำบาก มีความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ก่อตั้งคือ คุณอเล็กซ์ วอล์ค เกอร์ (ชาวนิวซีแลนด์) มีพันธะที่จะต้องโยกย้ายครอบครัวเพื่อไปรับงานนอกประเทศไทย พร้อมกับ ส่งบุตรเข้าศึกษาในต่างประเทศ
   ตามที่กล่าวมานั้นเพื่อแสดงให้เห็น ว่าจุดกำเนิดของเตาเม็งรายมีรากฐานจากประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของแผ่นดิน ล้านนา ไทย ชาวไทยภาคเหนือมีความเป็นสล่า(ช่าง)อยู่ในสายเลือด มีความสามารถในการผลิต งาน ศิลปหัตถกรรมจากวัสดุท้องถิ่นอย่างโดดเด่น ความเชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ก็ เป็นทักษะอย่างหนึ่งของสล่าชาวเหนือ ในระยะเริ่มแรก เตาเม็งรายดำเนินการมาด้วย ความ ยากลำบาก มีความเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ก่อตั้งคือ คุณอเล็กซ์ วอล์คเกอร์ (ชาว นิวซีแลนด์) มี พันธะที่จะต้องโยกย้ายครอบครัวเพื่อไปรับงานนอกประเทศไทย พร้อมกับส่งบุตรเข้า ศึกษาใน ต่างประเทศ    หุ้นส่วนที่เหลือยังคงดำเนินงานต่อไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในการ ผลิตสังคโลกในระบบของงานหัตถกรรมแบบโบราณด้วยเคลือบขี้เถ้าจากไม้ กิจการไป ได้ไม่ ดีในทางธุรกิจแต่ในทางเทคนิคการผลิตและความงดงามของผลิตภัณฑ์นั้นประสบความ สำเร็จ เป็นอันมาก นับเป็นโชคดีที่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น แพทย์หญิงศรี ศรี ศุกรี ได้เกิดแรงบันดาลใจเข้าร่วมหุ้น แทนที่คุณอเล็กซ์ วอล์คเกอร์ และเข้า ดูแล งานในส่วนของ ผู้ควบคุมการผลิต ส่วนของนโยบายในการทำงานมีการคิดค้นผลิตภัณฑ์ เตา เม็งรายได้เริ่มพัฒนาอย่างต่อเนื่องจาก นั้นมาและจุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้เกิดขึ้นอีกครั้ง
   เมื่อ คุณดวงกมล ศรีศุกรี ได้ เข้ามาร่วมงานส่งเสริมการผลิต คุณดวงกมลมีพื้นฐานทางด้านชีววิทยา กอร์ปกับความ สนใจ ทางศิลปะจึงนำศาสตร์ทั้ง 2 ประการ มารวมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของเตาเม็งราย ให้มี คุณภาพและความงามสู่มาตรฐานสากล ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของเตาเม็งรายเป็นที่รู้จัก กันทั่ว โลก สินค้าส่วนใหญ่จะถูกผลิตขึ้นเพื่อส่ง ขายต่างประเทศ ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ในการส่งออก ผู้ร่วมทุนมีเจตนาที่ จะ ผลิตสินค้าเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนขนาดเล็ก เพื่อความสะดวกในการควบคุมคุณภาพ ของ งานด้วยการใช้วัสดุและรูปแบบวิธีการผลิตเป็นรายชิ้น ให้มีคุณภาพและลักษณะใกล้เคียง กับ เครื่องปั้นดินเผาโบราณมากที่สุด ในช่วงเวลา 10 ปีมานี้ เตาเม็งรายได้เปลี่ยนแปลงการ เผา เครื่องปั้นดินเผา จากเตาฟืนเป็นเตาแก๊ส เพื่อร่วมรักษาสภาวะแวดล้อม ในปัจจุบันมีสล่า หญิงชายผู้มีส่วนในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมเครื่องปั้นดินเผาในโรงงานเตาเม็งราย จำนวน 50 คน    แต่ละคนมีความคิดสร้างสรรเป็นของตนเอง มีความภูมิใจในงานที่ตน ผลิตขึ้น นอกจาก การประทับตราสัญญลักษณ์ของ เตาเม็งรายใต้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นแล้ว เตา เม็งรายจึงมีลายเซ็นสล่าผู้สร้างสรรงานปั้น ผู้เขียนลาย กำกับใต้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นด้วย และได้ประทับ พระปรมาภิไธยย่อของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และปีที่พระองค์ทรงครองราชย์สมบัติ และ เลข 3 ตัวลำดับจาก 001 - 365 แสดงถึงวันที่ผลิตในปีนั้น ๆ
   เตาเม็งรายพยายามที่จะรักษา มาตรฐานการผลิตงานฝีมือในระดับที่สูง ตาม แบบแผนของ บรรพบุรุษที่สืบทอดมา หากมีใครสักคนถามถึงความตั้งใจตามที่กล่าวมานั้นว่าประสบ ความ สำเร็จมากน้อยเพียงใด ขอให้ผลงานภายใต้ตราสัญญลักษณ์ เตาเม็งรายเป็น ประจักษ์พยาน และตอบคำถามนั้นด้วยตัวของมันเอง
แปลและเรียบเรียงจากข้อเขียนของ โดนัลค์ กิปสัน เมื่อปี คศ.1993 (พศ.2536)

ห้างหุ้น ส่วน สามัญนิติบุคคลเตาเม็งราย
ประเภทของธุรกิจ :
ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาทั้งใน ประเทศ และ ต่างประเทศ
ที่อยู่ :
เลขที่ 79/2 ถ.อารักษ์ ต.พระสิงห์ อ. เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
หมายเลขโทรศัพท์ :
(66) 053 272 063 ; (66) 053 814 080
หมายเลขโทรสาร :
(66) 053 815 017 ; (66) 053 278 676
Mobile :
(66) 089 433 1557
เว็บไซต์ของบริษัท์ :
www.mengraikilns.com
ที่อยู่อีเมล์ :

mengraikilns@gmail.com, sales.mengraikilns@gmail.com

ปีที่ก่อตั้ง :
พ.ศ. 2516
   
   
   
   




Mengraikilns Best of Celadon and Ceramics
The Aesthetics of Quality Celadons

Copyright Mengraikilns ROP. All Rights Reserved
หสน.เตาเม็งราย (โชว์รูมและสำนักงาน) ที่อยู่ : 79/2 ถ.อารักษ์ ซอยสามล้าน 6 ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200